เครดิตhttp://www.meepoohclub.com/index.php?topic=649.0

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

วิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาไม่กี่ปี ดีเอ็นเอสามารถออกแบบได้ เชื้อโรคร้ายสร้างได้ไม่ยาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มวิตกกังวลว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายจะใช้เทคโนโลยีนี้ผลิตอาวุธชีวภาพชนิดร้ายแรง จึงได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมมือกันหาทางป้องกันเอาไว้ก่อนโดยเร็ว (ภาพประกอบจาก www.cusa.uci.edu) วิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจชีวภาพทั่วโลกผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด ส่งผลให้นักวิทย์เริ่มหวาดหวั่นว่า จะเป็นช่องทางให้อาชญากรและผู้ก่อการร้ายใช้เป็นช่องทางโจมตีฝ่ายตรงข้าม จึงรวมกลุ่มกันเรียกร้องให้ประชาคมโลกเร่งกำหนดมาตรการปิดทางผู้ไม่หวังดีโดยด่วน สำนักข่าวรอยเตอร์ได้รายงานถึงการประชุมของนักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศ

Remediation Laboratory
ห้องปฏิบัติการ Remediation ได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับตัวดูดซับจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด แกลบ เถ้าลอยชานอ้อย เปลือกแมคคาดาเมีย ขุยมะพร้าว เป็นต้น เพื่อนำมาบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์ โดยศึกษาถึงกลไกของวัสดุดูดซับต่างๆในการบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดซับ และทราบวิธีการจัดการตัวดูดซับที่ใช้แล้วต่อไปเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม วิธีนี้มีราคาไม่แพง สะดวกในการนำไปใช้จริง เพื่อได้น้ำทิ้งที่ปลอดภัยและผ่านมาตรฐานน้ำทิ้ง



Algal Biotechnology
สาหร่ายสไปรูลิน่า (Spirulina) เป็นแหล่งโปรตีนและมีสารเคมีมูลค่าสูง จำพวกกรดไขมันจำเป็น เช่น กรดลิโนลิอิก และกรดแกมมาลิโนเลนิก (GLA) รวมทั้งมีสารให้สีที่เป็นรงควัตถุในการรับแสง พวก คลอโรฟิลล์ที่ให้สีเขียว ไฟโคไซยานินให้สีฟ้า และแคโรทีนอยด์ที่ให้สีส้มแดง ซึ่งสามารถสกัดสารสีเหล่านี้จากสาหร่าย สไปรูลิน่าได้ และมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องสำอาง

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู



Excellent Center of Waste Utilization
and Management
ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการ และใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร (Excellent Center of Waste Utilization and Management) หรือเรียกสั้นๆว่า ECoWaste เป็นหน่วยงานภายใต้ความร่วมมือของสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ และคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) มีประสบการณ์ในการศึกษา วิจัยด้านการบำบัดและจัดการของเสียมากว่า 20 ปี โดยเริ่มจากการรวมกลุ่มของอาจารย์ นักวิจัยและวิศวกร ที่สนใจด้านการบำบัดน้ำเสียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 โดยเน้นที่การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าว น้ำมันปาล์ม อาหารและผลไม้กระป๋อง โดยใช้เทคโนโลยีแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Technology) ที่สามารถบำบัดน้ำเสีย และผลิตพลังงานได้ด้วยกระบวนการเดียวกัน